พิธีแต่งงาน และขั้นตอนการแต่งงานแบบไทย ที่คู่บ่าวสาวควรรู้

            การแต่งงานตามธรรมเนียมไทย เป็นพิธีการที่มีหลายขั้นตอนทั้งพิธีเช้าและพิธีการช่วงงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสในช่วงค่ำ แต่ปัจจุบันพิธีแต่งงาน และขั้นตอนการแต่งงานแบบไทย ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีความเรียบง่าย กระชับขึ้น เพื่อลดขั้นตอนให้สอดคล้องกับวิถีการใช้ชีวิตและความเหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคม แต่ยังคงรักษาพิธีการและขั้นตอนสำคัญของการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยไว้อย่างครบถ้วนเหมาะสม

พิธีแต่งงงานแบบไทย และขั้นตอนที่คู่บ่าวสาวควรรู้

            การแต่งงานเป็นพิธีการที่เกิดขึ้นหลังจากคู่รักตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน สำหรับพิธีแต่งงาน และขั้นตอนการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยจะเริ่มจากขั้นตอนการสู่ข ซึ่งแม้ในปัจจุบันจะมีการตัดขั้นตอนบางอย่างออกไป แต่ขั้นตอนสำคัญต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่เพียงปรับประยุกต์ให้กระชับเหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ดังนี้

1.การสู่ขอ และพิธีการสู่ขอ

ตามธรรมเนียมประเพณีไทย ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สู่ขอจะเรียกว่า "เฒ่าแก่" เมื่อการ

เจรจาสู้ขอเป็นไปอย่างราบรื่น มีการตกลงกันเรื่องสินสอดทองหมั้น และการหาฤกษ์ยามสำหรับกำหนดวันแต่ง หรือคู่รักบางคู่อาจทำการหมั้นหมายกันไว้ก่อนอาจหาฤกษ์หมั้นไว้ก่อน หรือกำหนดฤกษ์หมั้นฤกษ์แต่งงานในวันเดียวกัน

2.การหมั้นและขั้นตอนต่าง ๆ

การหมั้นหมาย ทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ ทำการหมั้นไว้ก่อนอาจมีฤกษ์แต่งงานไว้แล้ว หรือหา

ฤกษ์แต่งงานภายหลัง กรณีนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคู่บ่าวสาว และพิธีหมั้นและพิธีแต่งงานทำพร้อมกันในวันเดียว โดยพิธีหมั้นจัดขึ้นในช่วงเช้าและมีงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสในช่วงค่ำ โดยขั้นตอนพิธีหมั้น ได้แก่    

  • การกำหนดสินสอดทองหมั้น หรือของหมั้น
  • การกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น
  • การจัดขั้นหมากหมั้น
  • การจัดขบวนขันหมากหมั้น\
  • การยกขันหมากหมั้น และการนับสินสอดทองหมั้น

3.พิธีแต่งงานและขั้นตอนเกี่ยวกับการแต่งงาน

สำหรับลำดับพิธีแต่งงานแบบไทย มักจะมีญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ทำหน้าที่จัดเรียงลำดับขั้นตอน แต่

ในปัจจุบันมีธุรกิจบริการ พรีเวดดิ้ง ที่ช่วยเตรียมการและอำนวยความสะดวกให้กับคู่บ่าวสาวทุกขั้นตอนของพิธีการแต่งงาน โดยขั้นตอนการแต่งงาน มีดังนี้

  • ฤกษ์วันแต่ง โดยญาติผู้ใหญ่หรือคู่บ่าวสาวหาฤกษ์แต่งงานที่เป็นวันดี วันมงคล หรือคู่รักบางคู่

อาจถือกฤษ์สะดวกเป็นสำคัญ

  • พิธีสงฆ์ เป็นพิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเช้า การตักบาตรร่วมขัน

เชื่อกันว่าต่อไปชาติหน้าจะได้เกิดมาคู่กันอีก

  • พิธีรับไหว้ ขั้นตอนนี้หากช่วงเช้าเป็นพิธีหมั้น ซึ่งทำพร้อมกันในวันแต่งงาน จะมีการแห่ขั้น

หมากหมั้นและทำพิธีหมั้นก่อน จากนั้นตามด้วยพิธีรับไหว้ ขั้นตอนนี้จัดขึ้นเพื่อแสดงความคารวะนบนอบต่อบิดามารดา และบรรดาผู้ใหญ่ นอกจากนี้เงินที่ได้จากพิธีรับไหว้ ถือว่าเป็นเงินทุนให้แก่คู่บ่าวสาวอีกด้วย

  • พิธีรดน้ำสังข์ ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำเมื่อคู่บ่าวสาวสวมแฝดมงคล และนั่งพนมมือคู่กันในที่

จัดไว้แล้ว จะมีคนคอยตักน้ำพระพุทธมนต์เติมในสังข์ เพื่อส่งให้ผู้ที่จะรดน้ำอวยพร โดยเริ่มจากพ่อแม่ของคู่บ่าวสาว หรือญาติผู้ใหญ่ ตามลำดับ

  • การกินเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรส สำหรับการกินเลี้ยงฉลองมงคลสมรส ทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

การกินเลี้ยงฉลองหลังจากพิธีรสน้ำสังข์ คือกินเลี้ยงระหว่างวัน เป็นอันเสร็จพิธี หรือมีงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสในช่วงค่ำ

  • พิธีการปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาว พิธีการส่งตัวมักทำกันตอนกลางคืน ถ้าหากมีการเลี้ยงฉลอง

สมรสตอนกลางคืน จะต้องมีการเลิกก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเล็กน้อย แต่ปัจจุบันได้มีการปรับประยุกต์ให้เหมาะสม โดยปรับเป็นการทำพิธีปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาวในช่วงเช้า หลังจากเสร็จสิ้นพิธีรดน้ำสังข์ เพื่อให้งานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสในช่วงค่ำดำเนินไปได้โดยไม่ต้องเลิกงานเลี้ยงเพื่อส่งตัวเจ้าสาว

            พิธีแต่งงานแบบไทย เมื่อรู้ลำดับและขั้นตอนต่าง ๆ จะเห็นว่าสามารถกำหนดทุกขั้นตอนเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในวันเดียว หรือหากไม่มีงานฉลองมงคลสมรสในช่วงค่ำ เพียงครึ่งวันก็ทำให้งานแต่งแบบไทยสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

 

07 September 2022 12142
add line petchchompoo